undefined
undefined

-เนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพ
" นักดาราศาสตร์ " เป็นอาชีพที่ทำหน้าที่ศึกษาการก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ดาวคู่ ดาวกระจุก และกาแล็กซีศึกษาอุณหภูมิ ความสว่าง องค์ประกอบเคมี และ โครงสร้างภายในของดาวฤกษ์ และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ โดยใช้กล้อง โทรทรรศน์และเครื่องบันทึกสัญญาณต่างๆ และการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับดวงดาว และระบบจักรวาล เพื่อนำผลการศึกษาปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามาประมวลผลวิเคราะห์ จัดทำเป็นรายงานเพื่อติพิมพ์เผยแพร่ให้สาธารณชนรับทราบ กระตุ้นให้คนไทยมีความสนใจต่อเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิทยาสาสตร์มากขึ้น และให้กลุ่มผู้สนใจ้ทางดาราศาสตร์สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้มากขึ้น
-วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
1. เพื่อพัฒนากิจกรรมทางดาราศาสตร์ในประเทศไทย
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่สมาชิก และผู้สนใจในดาราศาสตร์ทั้งหลาย
3. เพื่อส่งเสริมการศึกษา และค้นคว้าทางดาราศาสตร์
4.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าแก่ประชาชนและเยาวชนที่สนใจ
5. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางดาราศาสตร์ ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือ ตลอดจน สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์
6. เพื่อส่งเสริม และดำเนินการค้นคว้า ปรับปรุง และจัดทำแบบเรียน แบบฝึกหัด
7.เพื่อประโยชน์ทางคมนาคมทางอากาศและทางเรือ กำหนดเวลามาตรฐานสากลโดยการสังเกตวัตถุท้องฟ้า
8.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านดาวเทียม
-เนื้อหาเป็นประโยชน์(4 คะแนน) นักดาราศาสตร์เป็นอาชีพที่สำคัญมากกับอนาคตของประเทศไทย เนื่องจากใช่เผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับดาราศาสตร์ อวกาศ สภาพอวกาศ ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเพื่อให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของดวงดาว และโลกอันเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีผลกระทบกับชีวิตประจำวัน โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาของสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ
-ความน่าสนใจ (4 คะแนน) พัฒนาความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยี ซึ่งจะทำประโยชน์อย่างมหาศาลให้แก่ กลุ่มคนหรือสังคมที่ให้การสนับสนุนการใช้ความสามารถและความสนใจทางดาราศาสตร์ของผู้ประกอบอาชีพนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็น นักวิชาการ และอาจารย์ ในสถาบันระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดสอนภาควิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ หรือโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา หน่วยวิจัยดาราศาสตร์ สมาคมดาราศาสตร์
-ความทันสมัย (4 คะแนน) เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ดาราศาสตร์เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับโลกทั้งภายในและภายนอกโลก ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ มักจะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับประเทศไทย แม้จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แต่การพัฒนาประเทศเท่าที่ผ่านมายังดำเนินไปไม่ได้เต็มที่
-การออกเเบบ/ความสวยงาม (4 คะแนน) การปรับปรุงรูปแบบผลงานที่มีอยู่แล้ว หรือสิ่งต่าง ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม ให้มีความแปลกความใหม่เพิ่มขึ้น ถ้อยคำ เส้น สี แสง รูปแบบ และวัสดุต่าง ๆอย่างเหมาะสม การวางแผนการทำงานที่ดีเพื่อความเข้าใจ
-ความเรียบง่าย (อ่านง่าย เข้าใจง่าย) (4 คะแนน) อ่านแล้วได้ ข้อคิดดีๆ และความรู้ใหม่ๆที่เกี่ยวกับดวงดาว รู้การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของดาราศาสตร์ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
สรุปคะแนน 20 คะแนน

undefined
undefined

ปัจจุบันสื่อมีความหลากหลายและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น นอกจากช่องทางแบบเก่าคือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมห์แล้ว มีช่องทางใหม่ๆผ่านสื่อดิจิตอล ได้แก่ เว็บ บล็อก โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (ipod) ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายจึงทะลักสู่ผู้รับเป็นจำนวนมหาศาลตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ผู้ส่งข่าวสารจึงกลายเป็นผู้กำหนดการรับรู้ข่าวสารของผู้รับไปโดยปริยาย
ตามทฤษฎีของนักคิดด้านสังคมคนสำคัญคือ มิเชล ฟูโกต์(Michel Foucault) เสนอว่า สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของเจ้าของสื่อหรือผู้ที่สามารถควบคุมสื่อไว้ในมือ อธิบายได้ว่า การใช้สื่อเผยแพร่แนวคิด อุดมคติ ความเชื่อ ให้แก่คนทั้งหลาย ตอกย้ำซ้ำเติมอยู่ตลอดเวลา จนผู้ที่รับข่าวสารเกิดความคล้อยตาม เชื่อ และทำตามผู้ที่เป็นเจ้าของหรือควบคุมสื่อต้องการในที่สุด
จะเห็นได้ชัดเจนในทางการเมืองที่รัฐจะใช้สื่อในการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองขึ้น ให้คนในชาติเกิดความ มีความคิดความเชื่อเป็นหนึ่งเดียว คล้อยตามการชี้นำของรัฐ นำไปสู่การจงรักภักดีต่อรัฐ จนในที่สุดรัฐหรือรัฐบาลสามารถบงการประชาชนให้เชื่อฟังและทำตามความต้องการได้ การอยู่ในอำนาจของรัฐบาลและรักษาอำนาจของตนก็ทำได้โดยง่ายดาย
ปัจจุบัน สื่อก็เป็นเครื่องมือ ในการสร้างอำนาจให้แก่ผู้ใช้สื่ออยู่เช่นเดิม เพียงแต่อำนาจที่ว่านั้น ไม่ใช่อำนาจทางการเมืองเสมอไป เพราะการเป็นเจ้าของสื่อไม่ได้จำกัดอยู่ที่รัฐเพียงเท่านั้น เอกชนก็สามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ ดังนั้น ผู้ที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของตน จึงเปิดกว้างมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐ ผ่านการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ
เมื่อการเป็นเจ้าของสื่อเปิดกว้างขึ้น การใช้สื่อก็กว้างขวางขึ้น ผู้ที่มีสื่อในมือก็สามารถใช้สื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองได้อย่างแทบไม่มีข้อจำกัด เช่น
ในทางการเมือง รัฐก็ยังคงใช้สื่อภายใต้การกำกับหรือสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ ในการเผยแพร่ความ คิดอุดมการณ์ทางการเมืองอยู่เช่นเดิม ดังเช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ จึงทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ของรัฐเป็นหลัก
ในการต่อสู้ทางการเมือง สื่อยิ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของแต่ละฝ่าย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ฝ่ายตนและทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงกันข้าม ดังเช่น ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปี พ.ศ.2547-2549 โดยสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่รวมตัวกันในนาม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการกระทำอันมิชอบของรัฐบาล และดำเนินการชุมนุมต่อต้านขับไล่รัฐบาลให้พ้นจากตำแหน่ง โดยมีประชาชนเป็นจำนวนมากเข้าร่วม ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สื่อที่ตนครอบครองอยู่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ในมุมของตนออกสู่สาธารณชน
ในทางการค้า ปัจจุบันสื่อกลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งให้เจ้าของสินค้าใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ให้คนทั่วไปได้รับรู้ในสินค้าและบริการของตน รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือและความนิยมในสินค้า ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม รูปแบบการนำเสนอได้ถูกคิดค้นขึ้นมานานาชนิด เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความประทับใจให้ได้มากที่สุด อันจะนำไปสู่การซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยเหตุที่สื่อเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ทำให้ผู้คนรับรู้ เชื่อถือ คล้อยตาม และนำไปสู่การยอมรับ ดังนั้นเราจึงเห็นการขับเคี่ยวแข่งขันกันผ่านสื่อของเจ้าของสินค้าและบริการ รวมถึงในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น คู่ขัดแย้งก็ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความถูกต้องให้แก่ฝ่ายตนและทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม คำถามก็คือ ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด
ความชอบธรรม ความถูกต้อง ของฝ่ายตนกล่าวอ้างผ่านสื่อนั้น แท้จริงแล้วเป็นความถูกต้องความชอบธรรมที่แท้จริงหรือไม่ และความผิด ความไม่ชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม เป็นความจริงหรือไม่ นี่ย่อมเป็นคำถามที่มีต่อทุกฝ่ายที่ใช้สื่อ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาล
หรือคุณภาพของสินค้าและบริการที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะการโฆษณาที่มุ่งเสนอคุณภาพของสินค้าและบริการนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเพียงใด เป็นความจริงที่แท้จริงของสินค้า หรือเป็นความจริงสมมติที่ถูกสร้างขึ้นเฉพาะในโฆษณาเท่านั้น
สื่อจึงเป็นเหมือนสนามรบให้ทั้งสองฝ่ายทำสงครามกันอย่างดุเดือด สงครามข้อมูลผ่านสื่อนั้น ไม่ว่าเป็นสงครามแบบไหน ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้รับสื่อ คือเราๆท่านๆที่บริโภคข่าวสาร ผ่านช่องทางต่างๆ อันเป็นกลุ่มเป้าหมายของคู่สงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามการเมือง การค้า การตลาด การบริการ
ผู้รับสื่อจึงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ ก่อนที่จะเชื่อ จะเห็นด้วย และคล้อยตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือสินค้าตัวใดตัวหนึ่งเพราะกระบวนการตกแต่งข้อมูล บิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น สามารถทำได้ ไม่ว่าจากฝ่ายใด
วิธีที่ดีที่สุดก็คือ เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ผู้บริโภคสื่อ คือตัวเรานั้น เป็นเหยื่อ เป็นเหยื่อและเป็นเหยื่อ
จากนั้นก็คิดวิธีรักษาตัวให้รอดจากการตกเป็นเหยื่อให้ได้เป็นลำดับถัดมา
ขอให้โชคดีทุกคน.
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
- การทดสอบสื่อ
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใด
การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ

การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
1. ลักษณะสื่อ
1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)
1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)

ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจน

ผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)
เครื่องมือ
ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมา
มี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบ
พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่าย
คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ
2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ
ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)
การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของ
เสียงดี ฟังง่าย ฯลฯ
การเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)
ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม
วิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อน
ผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด
ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ

undefined
undefined

การนำเสนอบนเว็บนั้นก็จัดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกระบวนการสื่อสาร รูปแบบและกระบวนการสื่อสารนั้นประกอบด้วยกระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ดังนี้

1. ผู้ส่งสาร (Sender) ซึ่งก็คือเรานั่นเอง
2. สาร (Message) หมายถึง สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ
3. สื่อหรือช่องทาง (Medium/Channel) หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งที่จะนำสารที่เรา ต้องการต้องการนำเสนอไปสู่ผู้รับ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ต่างๆ และในที่นี้ก็คง จะเป็น Web Site นั่นเอง
4. ผู้รับ (Receiver) ก็คือผู้รับสาร และการนำเสนอผ่าน WWW นั้นผู้รับสาร เรามีมากมายทั่วโลกที่จะเข้ามาชม Web ของเรา ดังนั้นในการออกแบบและจัด ทำนั้นเราควรมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เรามีเป้าหมายในการทำงาน

หลักการโดยทั่วไปในการจัดทำ Web เท่าที่ค้นคว้าและสรุปได้เป็นดังนี้

1. การวางแผน ข้อนี้ผมได้กล่าวไปแล้วนะครับ
2. การเตรียมการ เช่น การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่ท่านคิดว่าต้องการจะนำเสนอ
3. การจัดทำ เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทำแล้วนะครับ บางท่านอาจจะทำคนเดียว เช่นเดียวกันกับผมก็ได้ การทำเว็บคนเดียวไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่ขอให้มีเวลาให้ก็พอ แต่บางครั้งความคิดความอ่านอาจจะไม่แล่นเท่ากับทำหลายคน
4. การทดสอบ การทำงานทุกครั้ง ควรจะมีการทดสอบก่อนเผยแพร่ทุกครั้ง เพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำมาแก้ไข การทำเว็บนั้น เมื่อทำเสร็จและ Upload ไปไว้ใน Server แล้วไม่ว่าจะเป็นของฟรีหรือเสียเงินก็ตาม ให้ท่านลองแนะนำเพื่อนฝูงที่สนิทชิดเชื้อและใช้ิอินเทอร์เน็ตอยู่ ลองเปิดดูและให้บอกข้อผิดพลาดมา เช่น การ link ต่างๆ, รูปภาพ และตัวอักษรว่าถูกต้อง ช้าไปหรือเปล่า เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อเว็บทั้งสิ้นถ้าหากท่านทดสอบจากเครื่องของท่านเองแล้ว ข้อผิดพลาดต่างๆ มักจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็น เนื่องจากว่าข้อมูลต่างๆ จะอยู่ในเครื่องของท่าน และ link ต่างๆ เช่นกัน โปรแกรมจะทำการค้นหาในเครื่องจนพบ ทำให้เราไม่เห็นข้อผิดพลาด
5. การเผยแพร่ เมื่อทำการทดสอบ แก้ไขปรับปรุงเสร็จแล้ว ท่านก็สามารถเผยแพร่เว็บของท่านออกสู่สาธารณชนได้แล้ว ส่วนจะประชาสัมพันธ์อย่างไร ก็สุดแล้วแต่ท่านเอง"ถ้าจะทำเว็บ จะทำเรื่องอะไรดี" ผมก็ตอบว่า "ทำเรื่องที่เราถนัดและรู้ดีที่สุด" อย่างที่ผมเรียนให้ทราบตั้งแต่แรกนั่นละครับ ทำคนเดียวดูคนเดียวก่อนก็ได้ ถ้าคิดว่าดีพอแล้ว ก็บอกเพื่อนๆ ให้ทราบ และถ้าคิดว่าถึงเวลาจะประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับรู้ก็ลองติดต่อกับเว็บไซต์ดังๆ ให้เขาช่วยนำเสนอ หรือจะแลก link กับเว็บไซต์อื่นๆ ก็ไม่ผิดกติกาอันใด


การนำเสนอด้วยเว็บ(Web Presentation)

เพื่อให้การนำเสนอด้วยเว็บเป็นไปอย่างน่าสนใจและดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงหลักการและวิธีการในการออกแบบและการนำเสนอ เพราะถ้าหากทำไปโดยปราศจากการออกแบบหรือการนำเสนอที่ดีแล้ว ผู้ชมอาจจะไม่สนใจและใส่ใจที่จะเข้ามาชม ทำให้การนำเสนอในครั้งนั้นสูญเปล่าได้ดังนั้นผู้ที่จะออกแบบควรเรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเสนอก่อนเนื่องจากเวิลด์ไวด์เว็บนั้น นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเพื่อการค้นหาแล้ว หน่วยงานและองค์กรต่างๆ รวมถึงบุคคลยังสามารถใช้เว็บเพื่อเป็นสื่อในการนำเสนออีกทางหนึ่งด้วยและกระบวนการนำเสนอผ่านเว็บนั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากการนำเสนอผ่านสื่ออื่นๆ เช่น การนำเสนอด้วยสไลด์ การนำเสนอด้วยรายการวิทยุโทรทัศน์ การนำเสนอผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม PowerPoint หรือการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เท่าใดนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้การนำเสนอด้วยเว็บมีความน่าสนใจและแตกต่างจากสื่ออื่นก็คือ สิ่งที่ปรากฏบนเว็บนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังเป็นสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำเว็บกับผู้ชมหรือระหว่างผู้ชมกับผู้ชมด้วยกันเองได้ทันทีอีกด้วย โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า Common Gateway Interface (CGI)ซึ่งได้กล่าวถึงรายละเอียดในเรื่องของเว็บเพจแล้ว

ขั้นตอนในการนำเสนอ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การนำเสนอด้วยเว็บเพจก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับการนำเสนอด้วยสื่อทั่วไป คือมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อและขั้นตอนต่างๆในการนำเสนอผ่านเว็บ (Lemay, 1996; Nielsen, 1999; กิดานันท์ มลิทอง, 2542;) ได้กล่าวไว้ มีดังนี้

1. การวางแผนและตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผนในที่นี้รวมถึงการกำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายของการทำงานด้วยในการนำเสนอต่างๆ หรือทำเว็บก็ตาม หากมีจุดหมายว่า จะทำเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร เมื่อมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัดแล้ว จะทำให้มองเห็นเป้าหมายในการทำงานได้ชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น หากต้องการจะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องช้าง โดยมีจุดหมายเพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบันโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนที่สนใจเรื่องช้างและเรื่องธรรมชาติ และต้องการนำเสนอผ่านเว็บเมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้การทำงานในขั้นตอนต่อไปง่ายยิ่งขึ้น
2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล เมื่อได้เรื่องราวที่จะนำเสนอ โดยมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายแน่ชัดแล้ว ก็ถึงขั้นตอนในการรวบรวมแหล่งข้อมูล จากตัวอย่างเรื่องช้างในข้อที่ 1. ก็ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งที่เป็นเนื้อหา รูปภาพเสียงตลอดจนภาพเคลื่อนไหว และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวกับช้าง ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำเสนอ
3.ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล หลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้นมาแล้ว ควรที่จะศึกษาข้อมูลเหล่านั้นว่าส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกเป็นหมวดเป็นหมู่ได้หรือไม่ เช่น เมื่อหาข้อมูลเรื่องช้างมาได้พอสมควร อาจจะแยกแยะเป็นหมวด ดังนี้ประวัติของช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ วิวัฒนาการของช้าง ประเภทของช้าง ช้างไทยประโยชน์ของช้าง ฯลฯ เป็นต้นเมื่อได้หัวข้อหลักแล้ว ส่วนประกอบย่อยต่างๆ ก็จะค้นหาได้ง่ายขึ้น
4. การออกแบบสาร เมื่อได้เนื้อหาและหัวข้อในการนำเสนอแล้ว ลำดับต่อมาก็๋คือการออกแบบเนื้อหาให้น่าสนใจ ซึ่งตามหลักของเทคโนโลยีการศึกษา เรียกว่า การออกแบบสาร (message design) การออกแบบสารนี้นอกจากด้านเนื้อหาแล้ว ยังรวมไปถึงองค์ประกอบต่างในการนำเสนอด้วย เช่น สีของตัวอักษร, ภาพประกอบ กราฟิก, เสียงฯลฯ เหล่านี้จะต้องสื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกันกับเนื้อหาด้วย นอกจากนี้ ควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกันเช่น สีของตัวอักษร สัญรูปหรือปุ่มต่างๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยง
5. การเขียนแผนผังของงาน การทำแผนผังของงาน (flow chart) จะทำให้ลำดับเรื่องราวได้ง่ายขึ้นและเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งในการออกแบบเว็บนั้นนักออกแบบบางคนจะทำแผนผังของงานโดยใช้กระดาษสติกเกอร์ที่สามารถลอกออกได้แปะไว้บนบอร์ด ตามลำดับของเนื้อหาเพราะง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงหรือบางคนอาจจะใช้วิธีการเขียนบนไวท์บอร์ดด้วยปากกาที่ลบได้โดยง่าย
6. การเขียนบทภาพ (storyboard) การเขียนบทภาพ (storyboard) ของงานลงในกระดาษก่อนลงมือทำ นอกจากจะทำให้ เรากำหนดองค์ประกอบของงานได้อย่างคร่าวๆ แล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของงานชัดเจนยิ่งขึ้น และเมื่อลงมือทำงานจริงๆก็จะทำได้ง่ายขึ้น

7. การจัดทำเว็บ เมื่อผ่านขั้นตอนทุกอย่างจนมาถึงขั้นการจัดทำแล้ว การลงมือทำถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของกระบวนการเพื่อผลสำเร็จของงาน โดยทำตามแผนภาพของงานจะทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น
8. ทดสอบและประเมินผล หลังจากทำเสร็จทุกขั้นตอนของการจัดทำแล้ว ควรจะมีการทดสอบและประเมินผลจากตัวผู้จัดทำก่อนโดยสมมติว่าเป็นผู้ชมคนหนึ่ง โดยดูองค์ประกอบต่างๆ ที่ได้ทำขึ้นมา เช่นการเชื่อมโยงตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ สีที่ใช้ในการเชื่อมโยงเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน้าและใช้การได้หรือไม่ ภาพหรือกราฟิกตรงตามเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์หรือเปล่า ฯลฯ เป็นต้นจากนั้น เมื่อได้ถ่ายโอนข้อมูลไปเก็บไว้ยังเครื่องบริการเว็บแล้ว ก็ควรแนะนำเพื่อนหรือคนอื่นๆช่วยตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งถ้าถ่ายโอนข้อมูลไม่ครบ และทำการทดสอบด้วยเครื่องที่จัดทำก็จะไม่พบข้อบกพร่อง เนื่องจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ถูกบรรจุอยู่ไว้ในเครื่องที่จัดทำอยู่แล้ว โปรแกรมก็จะนำแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในเครื่องมาแสดงผล แต่ถ้าเป็นเครื่องอื่นหากเราถ่ายโอนข้อมูลไม่ครบ ก็จะพบข้อผิดพลาด
9. การประชาสัมพันธ์ หลังจากทำการทดสอบและประเมินผลจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็สามารถประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้อื่นได้รับรู้โดยผ่านทางคนรู้จักหรือผ่านทางเว็บที่ให้บริการประชาสัมพันธ์เว็บใหม่เนื้อหาที่นำเสนอผ่านเว็บเนื่องจากการนำเสนอเนื้อหาผ่านเว็บนั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่าควรนำเสนอในเรื่องใด ดังนั้นเนื้อหาต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บจึงมีแทบทุกประเภท เช่น การค้า การศึกษา การแพทย์ การทหาร เทคโนโลยี บันเทิง เกม กีฬา อาหาร หรือแม้กระทั่งเรื่องราวส่วนตัว ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเว็บที่มีเนื้อหาในแง่ลบอีกด้วยซึ่งในแต่ละวันจะมีเว็บไซต์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

undefined
undefined


**ปัจจุบันถูกตัดออกจากระบบสุริยะเนื่องจากค้นพบดาวเคราะห์ที่มีขนาดคล้ายกับดาวพลูโตจำนวนมาก จึงจัดให้ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระ**

เมื่อมีการค้นพบดาวเนปจูน ได้ประมาณขนาดและการหมุนรอบของมัน แต่ผลที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดคิด ผลที่ได้ไม่สามารถอธิบายการหมุนที่ผิดปกติของดาวยูเรนัส บางทีอาจมีดาวเคราะห์อีกดวงที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูน บางทีอาจเป็นแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดวงนี้ดึงดูดดาวยูเรนัส ได้มีการเริ่มค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกค้นพบในปี 1930 ชาวอเมริกันชื่อ Clyde Tombaugh ได้ถ่ายภาพของมันบนท้องฟ้า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่าดาวพูลโต สามารถมองเห็นได้โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่เท่านั้นเวลา ส่วนใหญ่แล้วดาวพูลโตจะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ในระหว่างการหมุนบางช่วงจะใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน และอยู่ห่างไกลที่สุดในปี 1999 ดาวพูลโตเป็นดาวขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก บนดาวมีความหนาวเย็นมากและอาจไม่มีชั้นบรรยากาศ พื้นผิวของมันอาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งหรือก๊าซของแข็ง เราคิดว่าดาวพูลโตประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็งโดยมีแกนเป็นหิน ลักษณะอาจจะเหมือนดาวบริวารของดาวยูเรนัส บางทีครั้งหนึ่ง ดาวพูลโตอาจเคยเป็นดาวบริวารของดาวเนปจูนซึ่งหนีการหมุนรอบดาวเนปจูน

ดาวพูลโตมีดาวบริวาร 1 ดวงชื่อดาว Charon ซึ่งพบโดยการดูด้วยกล้องโทรทัศน์ในปี 1978 ดาว Charon มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 725 ไมล์ ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพูลโต ดาว Charon หมุนรอบดาวพูลโต โดยมีระยะทางห่างจากดางพูลโต 12,125 ไมล์ มันใช้เวลาหมุนรอบดาวพูลโต เท่ากับการหมุนรอบตัวเองของดาวพูลโต ดังนั้นถ้าหากเราอยู่บนดาวพูลโตเราจะมองไม่เห็นดาว Charon ปรากฏบนท้องฟ้า

undefined
undefined


เมื่อดาวยูเรนัสถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวยูเรนัสมีลักษณะผิดปกติบางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวยูเรนัส แรงโน้มถ่วงของมันอาจจะดึงไปที่ดาวยูเรนัสจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่อยู่ที่ใหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่งที่นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเลโรมัน ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่งที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มองเห็นจากโลก ก็เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลางของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัส กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควันประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้องมาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพและการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์ต่างๆมากเหมือนยานวอยาเจอร์

ส่วนโค้งและดาวบริวารของดาวเนปจูน หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวนรอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการลิบหรื่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการลิบหรื่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวนที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน ดาวบริวาร นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่งมีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบห่างจากดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเธนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูนเป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุนรอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจากดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าไกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี มันอาจปะทะกับดาวเนปจูนหรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน

undefined
undefined

ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ถูกค้นพบโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ ผู้ที่ค้นพบ คือ วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) ในปี ค.ศ. 1781 (พ.ศ. 2324) องค์ประกอบหลักของดาวยูเรนัสคือไฮโดรเจนและฮีเลียม โดยมีมีเทนปะปนอยู่ด้วยทำให้เราเห็นสีของดาวยูเรนัสเป็นสีน้ำเงินเขียว (ช่วงคลื่นสีแดงถูกดูดกลืนโดยมีเทน) แกนหมุนของดาวยูเรนัสทำมุมเกือบจะตั้งฉากกับแกนหมุนของดาวโดยทั่วไป (แกนหมุนขนานกับระนาบการโคจร) ทำให้การโคจรของดาวยูเรนัสดูเหมือนเป็นการกลิ้งไปบนระนาบการโคจร สาเหตุที่แกนหมุนของดาวยูเรนัสผิดแปลกจากดาวดวงอื่นสันนิษฐานว่าเกิดจากการชนกับวัตถุท้องฟ้าขนาดใหญ่ประมาณดาวเคราะห์ สนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัสก็แปลกไปจากดาวดวงอื่นกล่าวคือมีแกนสนามแม่เหล็กที่เอียงจากแกนหมุนถึง 60 องศา และสภาพสนามแม่เหล็กก็มีรูปร่างที่แปลก ไม่เป็นแม่เหล็กสองขั้วอย่างชัดเจนเหมือนดาวดวงอื่น ในปัจจุบันจำนวนดาวบริวารของยูเรนัสที่ถูกค้นพบ คือ 27 ดวง

undefined
undefined




ดาวเสาร ์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงาม จากวงแหวนที่ล้อมรอบ เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวน ซึ่งทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแปลกกว่าดาวดวงอื่นๆ ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้างมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น สามารถสังเกตได้แม้ในภาพถ่ายขนาดเล็กวงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน วงแหวนบางมาก และประกอบด้วยวงแหวนจำนวนหลายพันวงก่อนปี 1980 มีคนคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารสิบดวง หลังจากนั้นยานวอยาเจอร์ ได้พบดาวบริวารเพิ่มขึ้นอีกหลายดวง ปัจจุบันเราคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารอื่นๆ นอกเหนือจากดาวบริวารเหล่านี้ ดาวบริวารชั้นในประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็ง และบางดวงก็ประกอบด้วยหิน มันปกคลุมด้วยหินและรอยแตกดาวบริวารชั้นในบางดวงมีการหมุนที่ผิดปกติ ดาวบริวารที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ ดาว Inner Shepherd และดาว Outer Shepherd ดาวบริวารชั้นนอกดวงแรกของดาวเสาร์ มีชื่อเรียกว่า Titan เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สองในระบบสุริยะ ดาว Titan มีชั้นบรรยากาศ มันเป็นสิ่งผิดปกติที่ดาวบริวารถูกล้อมรอบด้วยชั้นของแก๊ซเหมือนกับดาวเคราะห์ ยานวอยาเจอร์ 1 ได้เข้าไปใกล้ดาว Titan ดาวบริวารที่อยู่ชั้นนอกที่สุดเรียกว่า Phoebe มันจะหมุนไปรอบๆ Phoebe อาจจะเป็นดาวเคราะห์น้อยซึ่งถูกดึงดูดโดยแรงโน้มถ่วง

undefined
undefined


ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีมวลคิดเป็น 2.5 เท่าของมวลดาวเคราะห์ทุกดวงที่เหลือรวมกันกับดวงจันทร์และดาวเคราะห์น้อยทุกดวง แม้ว่าดาวพฤหัสบดีจะมีขนาดใหญ่โตเช่นนี้ก็ยังมีขนาดเพียง 1/800 เท่าของดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาหมุนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 12 ปี แต่ใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเพียงรอบละ 10 ชั่วโมง การหมุนตัวที่เร็วมากนี้ทำให้เขตเส้นศูนย์สูตรโป่งนูนออกมาเล็กน้อยและส่วนขั้วแบนลงไปเล็กน้อยเช่นกัน เมื่อส่องด้วยกล้องดูดาวพบว่าดาวพฤหัสบดีถูกปกคลุมด้วยเมฆเป็นแถบหลากสีวางแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ส่วนที่มองเห็นได้สะดุดตามากที่สุดบนดาวพฤหัสบดีคือจุดแดงขนาดใหญ่ที่ซีกทางใต้ของดาว จุดแดงนี้ค้นพบครั้งแรกเมื่อกว่า 300 ปีที่ผ่านมา คำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้ในปัจจุบัน คือ จุดแดงนี้คือพายุไซโคลนขนาดมหึมาที่หมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา โดยมีแถบของอากาศพุ่งเป็นสายในทิศทางตรงกันข้าม พายุที่คล้ายกับเฮอริเคนบนโลกเรานี้จะหมุนตัวทุกๆ 12 วันโลก ดาวพฤหัสบดีมีระบบดาวบริวารที่ประกอบด้วยดวงจันทร์ 12 ดวง

undefined
undefined


ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี รายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร ซึ่งจะเดินทางมาบุกโลก ผู้ที่สนับสนุกความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก คือ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนา เขาได้ทำแผนที่แสดงคลองต่างๆ บนดาวอังคาร แต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่า ตรวจไม่พบคลองบนดาวอังคาร แต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่ จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มีคลองบนดาวอังคารแน่นอน พื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขา และมีปล่องภูเขาไฟ มีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ
ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อมากมาย ยานอวกาศมารีเนอร์อีกหลายลำต่อมา สามารถถ่ายภาพพื้นผิวรวมกันแล้วได้ครบทั่วทุกบริเวณ โดยเห็นภาพละเอียดถึง 1 กิโลเมตร ภาพถ่ายเหล่านี้ช่วยให้นักภูมิศาสตร์ทำแผนที่ของดาวอังคารได้ทั้งดวง บนพื้นผิวของดาวอังคารจึงพบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรณีวิทยา เช่น ปล่องภูเขาไฟ หุบเหวกว้างและลึกร่องที่เหมือนกับร่องน้ำที่เคยเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ยานที่สำรวจดาวอังคารต่อจากยานมารีเนอร์ คือ ยานไวกิ้ง 2 ลำ แต่ละลำประกอบด้วยยานลำแม่ที่เคลื่อนรอบดาวอังคาร ในขณะที่ส่งยานลูกลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคาร ยานไวกิง 1 ลงที่ไครส์ พลาทิเนีย (Chryse Planitia) ซึ่งแปลว่า ที่ราบแห่งทองคำ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นเวลา 7 ปีหลังจากที่ นีล อาร์มสตรอง เหยียบดวงจันทร์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ยานไวกิ้ง 2 ก็ลงในที่ราบทางเหนือชือที่ราบยูโทเปีย (Utopia) ยานทั้งสองมีแขนกลยื่นออกไปตักดินบนดาวอังคารมาวิเคราะห์ภายในยาน เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต หรือซากของสิ่งมีชีวิต แต่การวิเคราะห์ไม่ยืนยันว่ามีหรือเคยมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ต่อจากยานไวกิ้งคือ ยานมาร์สพาธไฟเดอร์ ที่นำรถโซเจนเนอร์ไปด้วย ยานได้ลงบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ภาพที่น่าตื่นเต้นคือการติดตามรถคันเล็กๆ เคลื่อนที่สำรวจก้อนหินใกล้ฐานซึ่ง ต่อมาได้รับชื่อว่า ฐานเซแกน ภาพก้อนหินที่เรียงในทิศทางเดียวกันชี้ให้ เห็นว่าบนดาวอังคารเคยมีน้ำไหลมาก่อน ล่าสุดยานมาร์สโกลบอล เซอร์เวเยอร์ ซึ่งกำลังเคลื่อนรอบดาวอังคารได้ส่งภาพหุบเหวที่เป็นร่องลึกหรือที่เรียกว่า แคนยอน ซึ่งคดเคี้ยวไปมา ในอนาคตสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีโครงการที่จะส่งยานอวกาศไปเก็บดินจากดาวอังคารกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการบนโลก และอีกไม่นานมนุษย์จะเดินทางไปดาวอังคารเช่นเดียวกับการลงบนดวงจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2512

undefined
undefined


โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน
โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั้วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)

ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะมีฤดูกาลเป็นของตนเองและระยะของการโคจร ความยาวของปีดาวเคราะห์เป็นเวลาที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ถ้าคุณอยู่บนดาวพุธ ปีของคุณจะมีเพียง 88 วันของโลก บนดาวพลูโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดหนึ่งปีจะเท่ากับ 248 วันบนโลก

undefined
undefined

ดาวศุกร์ คือ ดาวที่ชาวโลกเชื่อวาเป็น ดาวแห่งความรัก ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus)มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน นั่นเป็นดาวเคราะห์ที่มีความสว่างมากที่สุดบนฟากฟ้าดุจอัญมณี โดยดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก
คนโบราณเชื่อว่า เทพีวีนัส อาศัยอยู่บนดาวศุกร์กับคนของเธอ ทว่า ในความเป็นจริง ดาวศุกร์เป็นหนึ่งในสองดาวที่ไม่มีบริวารหรือดวงจันทร์รายล้อม(อีกดวงคือดาวพุธ)เธอจึงเหมือนโดดเดี่ยวอยู่กลางห้วงอวกาศ
ดาวศุกร์จะมองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า ดาวประจำเมือง และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า ดาวประกายพรึก หรือ ดาวรุ่ง
ชาวเรือมักคุ้นเคยกับดาวศุกร์เป็นอย่างดี เพราะในการออกทะเลการใช้ดวงดาวหาทิศก็เป็นสิ่งจำเป็น การที่ดาวศุกร์ส่งแสงโดดเด่นอยู่ในที่ประจำทุกคํ่าคืน ชาวเรือจึงมองหาดาวศุกร์ก่อนเป็นดวงแรก จากนั้นก็ค่อยหาทิศเพื่อเดินเรือในยามรัตติกาลต่อไป
หากเทียบขนาดดาวในระบบสุริยะ ดาวศุกร์ มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด รวมทั้งความคล้ายกันหลายอย่าง ทั้ง มวล ความหนาแน่นและปริมาตร จนได้ชื่อว่าเป็น น้องสาวฝาแฝด ของโลก

undefined
undefined

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ
พื้นผิวของดาวพุธมีลักษณะคล้ายดวงจันทร์ เพราะต่างไม่มีบรรยากาศ แต่ดาวพุธมีขนาดใหญ่กว่ายานอวกาศมารีเนอร์ 10 ของสหรัฐอเมริกาเป็นยานลำแรกและลำเดียวที่ส่งไปสำรวจดาวพุธ
นอกจากดาวพุธจะมีช่วงกลางวันถึงกลางคืนยาวที่สุดแล้ว ยังมีทางโคจรที่รีมากด้วย ลักษณะพิเศษของดาวพุธ มีความหนาแน่นสูงมาก เป็นดาวเคราะห์ประเภทโลก แต่มีความหนาแน่นมากเป็นพิเศษ ดาวพุธโตกว่าดวงจันทร์ไม่มาก แต่มีความหนาแน่นมากกว่าดวงจันทร์ถึง 16 เท่า
จากสมบัติพิเศษข้อนี้ แสดงว่าแก่นกลางของดาวพุธมีความหนาแน่นสูง และมีขนาดใหญ่ องค์ประกอบส่วนมากจะเป็นเหล็ก แก่นกลางของดาวพุธเมื่อ เทียบกับขนาดภายนอกจึงใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทุกดวง
ข้อมูลจำเพาะของดาวพุธ


ดาวพุธจึงโคจรอยู่ท่ามกลาง ความร้อนจัด ของดวงอาทิตย์ในระยะห่าง เฉลี่ย ประมาณ 58,000,000 กิโลเมตร ในขณะที่อยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 15,000,000 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้เมื่อเรามองดาวพุธจากโลก จึงเห็นดาวพุธอยู่ใกล้ ดวงอาทิตย์ ตลอดเวลา แต่เนื่องจากความสว่างของเวลากลางวัน ทำให้เราไม่สามารถเห็น ดาวพุธด้วย ตาเปล่า จนกว่าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า หรือก่อนดวงอาทิตย์จะปรากฎในวันใหม่ กล่าวคือ ถ้าอยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จะลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ จึงมีโอกาส เห็นอยู่ทางทิศตะวันตก ในเวลาหัวค่ำ แต่ถ้าอยู่ทางทิศตะวันตก ของดวงอาทิตย์ จะลับ ขอบฟ้า ก่อนดวงอาทิตย์ และจะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ ในเวลารุ่งเช้า จึงมีโอกาสเห็นอยู่ทาง ทิศตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,878 กิโลเมตร มีมวลประมาณ 0.054 เท่าของโลก ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่งเป็นเวลาประมาณ 87.97 วัน หรือ 88 วัน ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1965 นักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่าดาวพุธใช้เวลาโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ เท่ากับเวลาที่ใช้ใน การหมุน รอบตัวเอง นั่นหมายถึงว่า ดาวพุธจะหันด้านเดียวในการรับแสง จากดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แต่เมื่อ Roef Dyee และ Gordon Effect นักวิทยาศาสตร์คอร์เนล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา นำเทคนิคของเรดาร์มาวัดการหมุนรอบตัวเอง ของดาวพุธ พบว่าใช้เวลาเพียง 58.65 วัน หรือประมาณ 59 วันเท่านั้น แต่ 1 วันบนดาวพุธจะยาวถึง 176 วันของโลก





undefined
undefined

เป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาถึงโลก 8 นาที มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน รองลงมาคือ ฮีเลียม ที่แกนมีความกดดันสูงมาก โดยความดัน ความหนาแน่นและอุณหภูมิ ของมวลจะเพิ่มขึ้นตามความลึกจากพื้นผิว
ชั้นต่างๆของดวงอาทิตย์
แบ่งเป็น 3 ชั้น โฟโตสเฟียร์ โครโมสเฟียร์ และโคโรนา
โฟโตสเฟียร ์เป็นพื้นผิวของดวงอาทิตย์มีความหนา 4 ร้อยกิโลเมตร ก๊าซมีความเบาบางมาก ขอบของดวงอาทิตย์สว่างน้อยกว่ากลางดวง จุดบนดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ใจกลางสุด มี 2 ส่วนคือ เขตมืดและเขตมัว เขตมัวจะมีอุณหภูมิสูงกว่าและล้อมรอบเขตมืด จำนวนจุดที่เกิดขึ้นในแต่ละปีจะไม่คงที่ การศึกษาการเคลื่อนที่ของจุดเป็นหลักฐานว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง แต่คาบของการหมุนไม่เท่ากัน มีสนามแม่เหล็ก โดยความเข้มของสนามแม่เหล็กจะขึ้นอยู่กับขนาดของจุด
โครโมสเฟียร์ มีลักษณะเป็นก๊าซโปร่งแสงอยู่เหนือโฟรโตสเฟียร์
โคโรนา เป็นบรรยากาศนอกสุดของดวงอาทิตย์เป็นชั้นบางๆ ล้อมรอบดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิประมาณ 2 ล้านองศาเคลวิน

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ดวงอาทิตย์จะดำรงอยู่ได้เพียงห้าล้านๆปีเท่านั้น

undefined
undefined



ดาวเคราะห์เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมีทั้งหมด 9 ดวง แต่ละดวงมีคุณสมบัติแตกกัน ดาวเคราะห์แต่ละดวงอาจมีบริวารหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งมีการจำแนกแตกต่างกันไปดังนี้

undefined
undefined


ทฤษฎีเนบิวลา เป็นแนวความคิดของคานท์ และ ลาปลาซได้รวบรวมทฤษฎีที่ดีที่สุด ฮอยล์เสนอว่าแรกเริ่มมีก้อนก๊าซและฝุ่นหมุนรอบตัวเอง และยุบตัวลงที่ใจกลางเกิดดวงอาทิตย์ขึ้น ฝุ่นก๊าซที่เหลือจะแผ่แบนเป็นวงแหวนล้อมรอบโดยมีสนามแม่เหล็กเป็นเครื่องเชื่อมโยง ต่อมาเม็ดฝุ่นก่อตัวและใหญ่ขึ้นเรื่อยๆในวงแหวน กลายเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์



About this blog